23 มิ.ย. 2559



ลาออกเลยดีไหมพี่ ??  ผมทนไม่ไหวแล้ว ไม่อยากเป็นลูกจ้างแล้ว?? 
ผมจะออกมาเทรดเป็น Freedom Trader
=================================================
เทรดเดอร์เป็นอาชีพในฝันของคนจำนวนมาก 
เพราะ อาชีพนี้มีอิสรภาพทางความคิด
เพราะ อาชีพนี้สามารถหาสร้างรายได้ไม่จำกัดตามความสามารถ
เพราะ อาชีพนี้ทำงานที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ ที่มี Internet เพราะ........
เมื่อหลายปีก่อน ............ตอนผมไม่ได้ทำงานประจำ ออกมาเลี้ยงลูก ในหัวของผม มีแต่เรื่อง
"ข้อดีของการเป็นเทรดเดอร์" เต็มไปหมด ผมบอกกับตัวเองว่า ผมจะไม่กลับไปทำงานประจำอีก
ผมเริ่มต้นเรียนรู้ ฝึกฝน หาข้อมูลที่จำเป็นต่อการเทรด ผมเริ่มค้นหาวิธีการตั้งเป้าหมาย ในแบบต่าง ๆ
ผมนั่ง Backtest กราฟวันละ >10 ชม. ไม่ไปเที่ยว ไปเล่นสนุกเหมือนเคย 
ผมทดสอบความรู้และทักษะของผมด้วยการสอนเพื่อน ๆ ให้เทรดเป็น 
ผมอยากให้เพื่อน ๆ หยุดคิดสักนิดว่า........ ผมใช้เวลาทำเรื่องข้างต้นมากกว่า 5 ปี
ไม่ใช่่ว่าออกจากงานแล้วเทรดได้เลย อยู่รอดได้เลย ได้กำไรเลย เป็นอาชีพได้เลย 
คำแนะนำจากเทรดเดอร์เก่ง ๆ หลาย ๆ ท่าน คือ... "คุณจะเทรดได้ดี ก็ต่อเมื่อไม่มีความกดดัน"
คำแนะนำของผม คือ "ถ้าเพื่อน ๆ เทรดได้กำไรเพียงพอ ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนติดต่อกัน 2 ปี
แล้วค่อยลาออก ไม่ต้องรีบครับ"
ผมเจอบทความดี ๆ
อยากให้เพื่อน ๆ ลองอ่านกันดูน่ะครับ

20 มิ.ย. 2559

อารมณ์แบบนี้ มีไว้ทำไม (ตอนเปิด order)


อุปสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดในการเริ่มเทรด คือ เรื่องอารมณ์ของเราเอง เพื่อน ๆ เห็นด้วยไหมครับ 
เพราะคนเรามักปล่อยให้อารมณ์ อยู่เหนือ"ความถูกต้อง" "ความรู้สึก"จึงเป็นใหญ่อยู่บ่อยครั้ง 
นํามาซึ่งความผิดพลาดในการเข้าเทรด 
การเเก้ไขอารมณ์มีหลายวิธี ครูหยง จากหนังสือ "หยงเกิดมาเทรด" แนะนำอย่างนี้ครับ 
ให้หาทีมงานมา ทำหน้าที่ Key order โดยเราเป็นคนออกแบบระบบในการเทรด 
เพื่อไม่ให้อารมณ์เข้ามาทำให้เราพลาดในการเทรด 
เทรดเดอร์ทุกคนที่ประสบความสําเร็จล้วนมีการบริหารจัดการเเละรับมือ กับอารมณ์ได้เป็นอย่างดี 
(1st priority) ในขณะที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญระบบเทรดก่อน 
เเทนที่จะเริ่มจากสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน ก็คือ "อารมณ์" เปรียบเสมือนเริ่มกลัดกระดุมผิดเม็ด 
ในรังดุมหมายเลข 1 
เรามาดูกันน่ะครับ ว่าอารมณ์แบบไหนมีผลกับเรา ตอนที่เราจะเข้าเทรด


อย่าเหนียว SL 

เพิ่ม Buffer ป้องกัน เพื่อน ๆ ต้องเผื่อ
ค่า Spread + ความผันผวนด้วย
(ATR SL ช่วยเพื่อนได้)





อย่าเสียดาย กลัวตกรถ 

โอกาสในการเข้าเทรดมีมากมาย
ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน
เพียแต่เพื่อน ๆ ต้องอดทนรอเท่านั้น






อย่ามักง่าย 

ไม่แคร์ ไม่คำนวณ MM 
การเข้าเทรดแต่ละครั้ง
เพื่อน ๆ ควรเสี่ยงให้เท่าๆ กัน
(% risk/ Dolloar risk) ทุกไม้






อย่าหยวนๆ 
ผ่อนปรนเงื่อนไข
เพราะตลาดไม่เคยหยวนให้เพื่อน ๆ 
เอาให้เป๊ะ ให้ชัวร์ ครบเงื่อนไข ค่อยเข้า






อย่าฝันหวาน ถึงแต่กำไร

อยากได้เยอะ และ sl สั้นๆ 
Lot ใหญ่ๆ สุดท้าย Overtrade
เสียทั้งเงิน เสียทั้งจิตวิทยาการเทรด






อย่าอ่อน(เพลีย)!! 
เปิด order ไป ง่วงนอนไป ไอไป
Click mouse ผิด ( Lot 1=>11)






UNLOCKING แนวคิด Nial Fuller

ยังคงมีคำถามเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องการค้นหาสไตล์การเทรด การค้นหาตัวตนของเพื่อน ๆ 
วันนี้ผมขอยกตัวอย่าง เทรดเดอร์ที่เป็นต้นแบบของผม Nial Fuller


Nial Fuller ได้ชื่อว่าเป็น เทรดเดอร์ นักเขียน และโค้ช ที่มีประสบการณ์มากกว่า 14 ปี ในตลาดเงิน 
ปัจจุบัน เขาถูกขนานนามว่า เป็นเทรดเดอร์ต้นแบบ ในการเทรด Price action
ผมเริ่มต้นเทรดสไตล์ Daytrade นั่งเฝ้าจอ ใช้เวลา 4-8 ชม/วัน จนกระทั่งมีลูก (เวลาน้อยลง) 
ผมกลับมานั่งคิดใหม่ว่า Daytrade เหมาะกับตัวผมจริงไหม (ณ เวลานั้น) คำตอบคือ...
มันอาจจะไม่เหมาะแล้ว กิจวัตรประจำวันของผมเปลี่ยนไป ผมไม่ใช่คนตัวเปล่า 
ไม่มีเวลาว่างเหมือนเดิม
ผมอยากให้เพื่อน ๆ ลองถามตัวเอง ผ่านแนวคิดของ Nial Fuller ไม่แน่เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะ 
เจอสไตล์ที่ชอบ ตัวตนที่ใช่ก็ได้


Nial Fuller นั้นจะใช้สไตล์ price action ในการเข้าเทรดเท่านั้น 
เขาจะไม่สนใจอินดิเคเตอร์ โดยเขาจะพิจารณาว่าราคาได้ "กระทำต่อ" แนวรับแนวต้านอย่างไร 
รวมถึงการดูรูปแบบของแท่งเทียน เพื่อหาจังหวะเข้า order เขามีแนวทางในการเทรดแบบ
เรียบง่ายมาก โดยการใช้เพียงกราฟเปล่า เขาก็สามารถหาแนวโน้มและทิศทาง 
รวมถึงหาจังหวะเข้าเทรดได้เหมือนกัน


Nial Fuller ใช้หลักการของแท่งเทียนเป็นหลัก 
ไม่ว่าจะเป็น Pin bar ,Inside bar และ Fakey bar ในการพิจารณาแนวโน้มของราคา
รวมถึงการหาจังหวะเข้าเทรด 

ที่สำคัญคือเพื่อน ๆ ต้องวางแผนการเทรด ก่อนการเข้าเทรดทุกครั้ง เพื่อเป็นการควบคุมอารมณ์ขอ
เพื่อน ๆ 
ในช่วงเวลาที่ลงสนามจริง เพราะสิ่งที่จะตัดสินว่า เพื่อน ๆจะทำกำไรจากตลาดแห่งนี้
ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ คือความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และจิตใจที่เข้มแข็งนั่นเอง


Nial Fuller กล่าวว่าในทางทฤษฎี เขาเป็นทั้ง Day trader และ Swing trader 
มันขึ้นกับสภาวะตลาดและรูปแบบของแท่งเทียน เขาจะเทรดใน Time frame H4 และ D1 

นั่นทำให้เขามีโอกาส ในการเข้า order ทั้งขาขึ้นและขาลง


Nial Fuller จะเทรดบนกราฟ H4, D1 และบางครั้งก็ H1 ด้วย 
เขาสนับสนุนให้เทรดโดยการใช้ price action ใน time frame ที่ใหญ่หน่อย ในความเห็นเขา คือ
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ล้มเหลวในการเทรดค่าเงิน เพราะพวกเขาเหล่านั้นยึดติด และมัวแต่เพ่งหน้าจอ
ในกราฟย่อยๆ ทำให้พวกเขามองไม่เห็นภาพรวมของตลาด

เขาเทรดโดยมีแนวคิดดังนี้ TF D1 จะสามารถบอกเทรนของราคา ระดับราคาที่มีนัยต่อการกลับตัว 
แนวรับแนวต้าน


Nial Fuller ใช้ Price action ไม่มี indicators 
โดยทั่วไปเขาจะเทรดตามเทรน ร่วมกับการใช้ระดับของราคาที่มีนัย ในการมองทิศทาง 
โดยใช้รูปแบบการกลับตัว ของ Price action ในการเข้า order



Nial Fuller บอกว่าเฉลี่ยแล้ว จะเทรดประมาณ 3-4 ครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์ 
มันฟังดูน้อยแต่เพราะ เขาต้องการรักษาวินัยในการเทรด เขาจึงเทรดเฉพาะเมื่อครบเงื่อนไข 
การเทรดของเขาเท่านั้น ด้วยประสบการณ์ในการเทรดของเขา เกือบ 10 ปี ทำให้เขาพยายามกรอง
และเลือกเทรดเฉพาะในโอกาสที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุ


Nial Fuller กล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าเราจะสามารถวางแผนได้จริงๆ หรอกว่าเราสามารถ
ทำเงินได้เท่าไร ในแต่ละสัปดาห์ หรือในแต่ละเดือน 
เขาบอกว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่า คือ เพื่อน ๆ ต้อง focus ในแต่ละการเทรด เทรดเดอร์หลายคน
อาจจะสามารถตั้งเป้ากำไรจากการเทรดในแต่ละสัปดาห์ แต่นั่นไม่ใช่ตัวเขา เขาแค่พยายามวางแผน
และวางเป้าในแต่ละไม้ โดยเป้าของเขาคือ การเทรดที่มี reward to risk ratio = 2: 1 
เป็นอย่างน้อยในแต่ละการเทร


Nial Fuller กล่าวว่าสิ่่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ ในการเทรดนั้น มี 3 ปัจจัยด้วยกัน 

1.เขามีกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง

2.การที่เขาเริ่มเขียน blog เป็นประจำ ทำให้เขามีวินัยและอยู่กับตลาดตลอดเวลา

3. การที่เขาไม่เสพติดการเทรด เขาไม่ให้การเทรดมามีผลต่อวิถีชีวิตของเขามากเกินไป 

เขาจะไม่เฝ้าดูกราฟตลอดเวลา, เขาจะเข้า order แล้วปิดหน้าจอ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตลาด


Cr: 2Btrader
www.learntotradethemarket dot com

ช่วงก่อนผมลงไปกทม. ไม่ได้เจอเพื่อน ๆ นานแล้ว พร้อมคำถามที่ว่า 
"ไปเรียนเพิ่มอีกแล้วเหรอ ที่เรียนมาไม่พอ?"
================================================
เคยมีคนบอกว่า "ชีวิต คือการเดินทาง" Life is journey.
แต่ละวัน เราก้าวไปบนเส้นทางที่เราเลือกที่จะเดิน เลือกที่จะเป็น โดยไม่มีใครรู้ว่า... 
ทางข้างหน้า จะเป็นอย่างไร 
หากชีวิต คือการเดินทาง เมื่อมี "เริ่มต้น" ก็ต้องมี "จุดหมาย" และมีทางออกให้กับทุกเส้นทางเสมอ 
เช่นเดียวกัน ผมก็มี "จุดหมาย" ในชีวิต จุดหมายที่ ต้องการอยู่กับคนที่ผมรัก 
ดูแลคนที่ผมรักให้ความสุข
การเรียนรู้ของผม ก็เพื่อให้ได้มาซึ่ง "จุดหมาย" เพราะผมยังต้องใช้ชีวิตอยู่ ผมต้องเดินทาง 
ผมจึง "เรียนรู้" (แต่ผมไม่ได้เรียนเพื่อเอาเทคนิค หรือระบบเทรดผมไปเรียน 
เพื่อพัฒนา Mindset & MM)

"ถ้าเราต้องมีชีวิตอยู่อีกหลายปี อย่าหยุดเรียนรู้กันน่ะครับ ...."

เพื่อน ๆ ก็สามารถเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้ ผมจะเปลี่ยน Facebook ให้เป็นห้องเรียน 
และ Update ความรู้ดีๆ ให้เพื่อน ๆ น่ะครับ


หลังข่าว NFP ออก เพื่อน ๆ ฮาเฮ (บางส่วนก็ปล่อยโฮ)
=======================================

วันนี้เราลองมาศึกษาแนวคิดของ Nial Fuller เกี่ยวกับการเทรดข่าว
ตอนนี้เพื่อนๆ ลองทำความรู้จักกับข่าว ที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด ที่ขับเคลื่อนราคา
ในตลาด Forex อย่างรวดเร็ว
นี่เป็นเพียงการทำความรู้จัก กับศัพท์แสงที่เรามีแนวโน้มที่จะเจอ ในระหว่างการเทรด Forex 
ไม่จำเป็นต้องกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับข่าวเศรษฐกิจเหล่านี้ แค่ให้รู้เวลาในการออกข่าวเหล่านี้ 
ก็เพียงพอแล้ว (www.forexfactory.com)

01.Non-farm Payrolls หรือ NFP :
คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐ จะรายงานตัวเลขการจ้างงานทั้งหมด
ของคนงานสหรัฐ ในธุรกิจต่างๆ แต่จะไม่นับรวมกลุ่มลูกจ้างในภาคการเกษตร 
ถือว่าเป็น " ข่าวที่แรงที่สุด " ในบรรดาข่าวทั้งหลาย เมื่อมีการประกาศตัวเลขนี้ออกมา 
ราคามักจะมีการกระชากขึ้นลง จะมีการประกาศในวันศุกร์แรกของทุกเดือน 

ตัวเลขที่มากกว่าคาดการณ์ถือว่าดี จะมีผลทำให้ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้น


02.Federal Open Market Committee (FOMC):
คือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะประชุมเมื่อไร ไม่มีกำหนดตายตัวแน่นอน 

แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวม และผลของการประชุม 

ส่วนที่สนใจกันมากที่สุดคือ เรื่องของ 'อัตราดอกเบี้ย' รวมถึงการปรับอัตราดอกเบี้ย 
ถ้าปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จะมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น และถ้าปรับลดลงค่าเงินก็จะอ่อนค่าลงด้วย
(สำหรับการประชุมของธนาคารกลางอื่นๆ ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ด้วย)


03.Interest Rates : "อัตราดอกเบี้ย"
เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนตลาด Forex; แต่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจทั้งหมด ที่กล่าวมาข้างต้น 
ก็มีความสำคํญมากเช่นกัน และถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิด โดย FOMC เพื่อที่ชี้วัดสภาพ 
โดยรวมของเศรษฐกิจ
เฟดสามารถ ลด เพิ่ม หรือปล่อยให้อัตราดอกเบี้ย ไม่เปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสภาพโดยรวมของ

เศรษฐกิจในขณะนั้น

04.Gross Domestic Product หรือ GDP :
คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน

โดย GDP คือ...ตัววัดที่กว้างที่สุด เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ 

การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไป จะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโต
ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ

การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย


05.Unemployment Rate :
คือ การสรุปตัวเลขอัตราการว่างงาน ของสหรัฐอเมริกา จะประกาศในช่วงศุกร์ต้นเดือน 
หรือถ้ากระชั้นชิดมาก อาจจะเลื่อนมาศุกร์ที่สองของเดือน เป็นการประกาศตัวเลขอัตราว่างงาน
ของเดือนก่อนหน้า 
ตัวเลขจะสะท้อนภาพเศรษฐกิจโดยตรง คือถ้ามีการว่างงานในอัตราสูง แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังอ่อนแอ 
แต่ถ้าตัวเลขออกมาน้อย แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังขยายตัว และมีผลดีต่อค่าเงินด้วย

มุมมองของ Nial Fuller คือ เราสามารถใช้ Fundamental Analysis มาช่วยวิเคราะห์ในกรณี
ที่เราไม่แน่ใจ เรื่องการเคลื่อนไหวของราคา PA/TA

"แต่ไม่ควรใช้การวิเคราะห์พื้นฐานเพียงอย่างเดียวในการเข้าเทรดแต่ละครั้ง"

ดังนั้น สำหรับเพื่อน ๆ แฟนเพจทุกคน "การเปิด order เพื่อเดาทางรอข่าวออก" ไม่ควรน่ะครับ

Cr: Nial Fullers

เตรียมความพร้อมก่อนเรียนรู้

ศัพท์พื้นฐาน Forex 


#Leverage 
คือความสามารถในการเทรดได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่มีความเสี่ยงของเงินทุนต่ำกว่ามาก

ตัวอย่างเช่น
เพื่อน ๆ มี $1,000 เป็น Free margin เพื่อน ๆ จะมีความสามารถเปิด Position ได้ถึงที่ $100,000
เพื่อน ๆ เพิ่มความสามารถในการเทรด เป็น 100 เท่าของ margin Leverage 1:100

เพื่อน ๆ มี $1,000 เป็น Free margin เพื่อน ๆ จะมีความสามารถเปิด Position ได้ถึงที่ $200,000
เพื่อน ๆ เพิ่มความสามารถในการเทรดเป็น 200 เท่าของ margin  Leverage 1:200

การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการเทรด ทั้งกำไรและขาดทุนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

Leverage ทำให้เราเทรด Forex ได้ง่ายขึ้นไม่ต้องลงเงินเป็นแสน เป็นล้านเหรียญ

เริ่มต้นเพียง $1,000 - $2,000 ก็เทรดได้แล้ว

#Spread 
คือ ความแตกต่างระหว่างราคา Ask / Bid

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอ่านค่า Bid/Ask ของ EURUSD ได้ดังนี้
Bid =1.3200 / Ask = 1.3203, Spread แตกต่างกัน ระหว่าง 1.3200 และ 1.3203 = 3 pips
การที่จะ BreakEven (เท่าทุน) ราคาต้องเคลื่อนที่ = Spread = 3 pips

การเสนอราคาซื้อ และ การเสนอราคาขาย (Bid/Ask) 
ราคาเสนอซื้อ => เป็นราคาที่ตลาด (Broker) จะซื้อคู่สกุลเงินนั้นจากคุณ ดังนั้น เทรดเดอร์สามารถ
ขายสกุลเงินหลักของพวกเขาให้กับโบรกเกอร์ ณ ราคาเสนอซื้อ

ราคาเสนอขาย => เป็นราคาที่ตลาด (Broker) จะขายคู่สกุลเงินนั้นให้คุณ
ดังนั้น เทรดเดอร์สามารถซื้อสกุลเงินหลักของพวกเขา จากโบรกเกอร์ ณ ราคาเสนอขาย

Spread ของคู่สกุลเงินแตกต่างกันตามโบรกเกอร์ และราคาที่แตกต่าง ระหว่างการเสนอราคาซื้อ
และการเสนอราคาขาย

เพื่อน ๆ สามารถเลือก Broker ที่มี Fix spread หรือไม่ Fix ก็ได้
กรณี ไม่ Fix spread เพื่อน ๆ ต้องระวังความผันผวนของราคาในช่วงมีข่าวแรง ไม่ควรเข้าเทรดโดยเด็ดขาด



#Margin 
คือ หลักประกันที่จำเป็นในการเปิด หรือรักษา position

Free margin & Used margin;
#Used margin
เป็นจำนวนเงินซึ่งจะถูกใช้ในการรักษา position ที่เปิด

#Free margin เป็นจำนวนเงินพร้อม ที่จะเปิด position ใหม่

เราสามารถซื้อหรือขาย position มูลค่าได้ถึง ประมาณ $ 100,000 ในกรณีที่เรามียอด Margin
คงเหลือในบัญชีของเรา = $ 1,000

และสมมุติว่าต้องใช้ margin 1% ในการเปิด position เราเรียกสิ่งนี้ว่า Leverage 100:1
(สามารถเปิด position ได้ถึง 100 เท่าของมูลค่า Margin คงเหลือในบัญชี)

หากบัญชีของเพื่อน ๆ ต่ำกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำที่จำเป็นในการรักษา position ที่เปิด 

เพื่อน ๆ จะได้รับ "margin call" ซึ่งเราต้องเพิ่มเงินเข้าสู่บัญชีของเรา หรือ ต้องปิด position ที่เปิดไว้ก่อนหน้า

โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะปิด position ให้โดยอัตโนมัติ เมื่อยอดเงินของยอดบัญชี ลดลงต่ำกว่า

จำนวนเงินที่จำเป็น เพื่อให้ position ยังเปิดอยู่

จำนวนเงินที่ต้องรักษา position ที่เปิดนี้ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์แต่ละเจ้า และอาจจะเป็น 50% 

ของ margin เดิม ที่จำเป็นในการเปิดการเทรด

สิ่งที่เพื่อน ๆ ทำได้ง่าย ๆ เลยก็คือ พยายามให้ Free margin สูง ๆ เข้าไว้ เพื่อน ๆ ก็จะไม่โดนปิด 

order ที่เปิดไว้ก่อนหน้านี้


#Cross rate 
=> อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสองสกุลเงิน ซึ่งทั้งสองไม่ได้เป็นสกุลเงิน อย่างเป็นทางการ

ของประเทศที่อ้างถึงอัตราแลกเปลี่ยน

ในบางครั้งยังใช้เพื่ออ้างถึงสกุลเงิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยไม่คำนึงถึงประเทศ

ที่อ้างอิง

ตัวอย่าง เช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง เงินปอนด์และเงินเยนของญี่ปุ่นถูกยกมาในหนังสือพิมพ์

อเมริกันนี้ จะได้รับการพิจารณาเป็น Cross rate ในบริบทนี้ เพราะค่าเงินปอนด์หรือเงินเยน 
ไม่ได้เป็นสกุลเงินมาตรฐานของสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม หากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง เงินปอนด์และเงินดอลลาร์สหรัฐ ถูกอ้างถึงในหนังสือพิมพ์เล่มเดียวกัน มันจะไม่ได้รับการพิจารณาเป็น Cross rateเพราะอ้างอิงเกี่ยวข้องกับสกุลเงินสหรัฐ


#Excange Rate
=> ค่าของสกุลเงินหนึ่งที่แสดงเทียบกับของสกุลเงินอื่น

ตัวอย่างเช่น ถ้า EUR / USD เป็น 1.3200 หมายความว่า 1 ยูโรมีมูลค่า 1.3200 ดอลล่าห์สหรัฐ


#Lot size 
=> ขนาดของสัญญา หรือ order ที่ทำการเปิดแต่ละครั้ง

สูตรในการคำนวณ 
Lot size = (ฺBalance * %Risk)/ (SL pips * pip value)

ตัวอย่างเช่น
Balance = $10,000
%Risk = 3%
pip value = 10
SL size = 30 pips

Lot size = ($10,000 * 3%) / ( 30 pips * 10) = $300/300 = 1 Lot


#StopLoss 
=> จุดออกในกรณีที่เราแพ้การเทรด กำหนดขนาด SL ที่เหมาะสมจากกลยุทธของเพื่อน ๆ 

#TakeProfit 
=> จุดออกในกรณีที่เราชนะการเทรด กำหนดขนาด TP ที่เหมาะสมจากกลยุทธของเพื่อน ๆ

ก่อนการเข้าเทรดทุกครั้ง เพื่อนๆ ควรกำหนด SL,TP ด้วย

เมื่อเข้าเทรดแล้ว เพือน ๆ ไม่ควรเลื่อน หรือเปลี่ยน SL,TP เพราะการกระทำเช่นนั้นมีผลเสีย

ต่อจิตวิทยาการเทรด และวินัยของเพื่อน ๆ เอง

Source: Nial Fuller
Edited by: นึก ‪#‎traderathome‬
Youtube : https://goo.gl/ZHVliJ