25 พ.ค. 2559

8 Indy Thai Version Part I

กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้อง แบบง่าย ๆ สบาย ๆ ............ (ไม่ต้องฟังภาษาอังกฤษ) รอช้าอยู่ใย ตามไปดูเลยครับ
กูรูฝรั่งบอกและเน้นกับพวกเราว่า @Focus on Quality not Quantity (of trade)
"ให้ความสำคัญกับคุณภาพในการเทรด มากกว่าปริมาณในการเทรด"


หลักการก็คือ วัดระดับราคาปัจจุบันเทียบ ับ ระดับราคาเฉลี่ยในช่วงที่สนใจ  
CCI จะมีค่าเพิ่มขึ้นถ้าราคาปัจจุบันอยู่เหนือค่าเฉลี่ย และจะมีค่าลดลงถ้าราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คนส่วนใหญ่นิยมนำมาหาระดับ overbought หรือ oversold กัน

แบบที่ 1

1. ใช้คู่กับ MA ในการหาเทรน

2. มองหาค่า CCI ตรงข้ามกับ Trend เช่น UP trend มองหา -100 Down Trend มองหา 100

3. รอให้ CCI กลับตัวทิศทางเดียวกับ Trend เช่น Up trend รอให้กลับมาถึง +100 Down Trend รอให้กลับมาที่ -100



แบบที่ 2

1. ใช้คู่กับ MA ในการหาเทรน มองหา Sideway (MA ไม่มีความชัน เรียบ ๆ)

2. มองหา Overbought/Oversold with Divergence

3. จุดเข้าให้รอ CCI ตัด +100 ลง (Sell) หรือ ตัด -100 ขึ้น (Buy)




แบบที่ 3

1. ใช้คู่กับ MA ในการหา Trend

2. วาด Trendline ที่ CCI (ตรงข้ามกับ Trend)

3. จุดเข้าให้รอ Trendline breakout ใน CCI






เป็น momentum indicator โดยแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบว่า ราคาปิดในช่วงเวลาที่สนใจนั้นสูงหรือต่ำ

Stochastic นั้นไม่ได้เป็น indicator ที่เคลื่อนไหวตามแนวโน้ม, ราคา หรือ ปริมาณการซื้อขายแต่อย่างใด แต่ Stochastic นั้นเคลื่อนไหวตาม momentum ของราคา
จากคำกล่าวที่ว่า “การเปลี่ยนทิศทางของ momentum จะเกิดขึ้นก่อน การเปลี่ยนทิศทางของราคา”
คนส่วนใหญ่นิยมนำมาหาระดับ overbought หรือ oversold ในการกลับตัวของราคา 


แบบที่ 1 

1. มองหา Trend => MA100

2. มองหา Overbought/Oversold ด้านเดียวกับ Trend (Up trend มองหา OS,Down Trend มองหา OB)

3. จุดเข้า => SMA ตัดเส้น Trigger Line




แบบที่ 2

1. มองหา Sideway => MA100 เรียบ ๆ ไม่มีความชัน

2. มองหา แนวรับ/แนวต้าน 

3. มองหา Overbought/Oversold

4. จุดเข้า => SMA ตัดเส้น Trigger Line



ติดปัญหาอะไรสอบถามได้ที่ Comment น่ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น